ประกาศ/นโยบาย บริษัท
นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy)
บริษัท เป็นไท ลีเกิ้ล จำกัด (ต่อไปนี้จะเรียกรวมว่า “บริษัท”) เคารพสิทธิความเป็นส่วนตัวและให้ความสำคัญต่อการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือทำธุรกรรมกับบริษัท จึงได้จัดทำนโยบายการคุ้มครองข้อมูล ส่วนบุคคลฉบับนี้ขึ้น เพื่อให้มีหลักเกณฑ์ กลไก มาตรการกำกับดูแล และการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลอย่างชัดเจนและเหมาะสม ดังต่อไปนี้
ข้อ 1. หลักการและเหตุผล
ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งระบบสื่อสารได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้การเข้าถึง การเก็บรวบรวม การใช้ และการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลสามารถทำได้โดยง่าย สะดวก และรวดเร็ว อันอาจนำมาซึ่งความเสียหายต่อเจ้าของข้อมูล ประกอบกับได้มีพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูล ส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 แล้วนั้น บริษัทได้ตระหนักถึงความสำคัญของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PrivacyPolicy) ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานสำคัญที่ต้องได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) ซึ่งบุคคลใดจะถูกแทรกแซงตามอำเภอใจในความเป็นส่วนตัว ครอบครัว ที่อยู่อาศัย หรือการสื่อสาร หรือการถูกลบหลู่ ดูหมิ่น เกียรติยศและชื่อเสียงไม่ได้ ทุกคนมีสิทธิที่จะได้ความคุ้มครองตามกฎหมาย ต่อการแทรกแซงสิทธิหรือการลบหลู่ดังกล่าวนั้น รวมถึงสนับสนุนและเคารพการปกป้องสิทธิมนุษยชนตามที่ประกาศใช้ในระดับสากล ตามหลักการของข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UN Global Compact) รวมถึงพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 บริษัทจึงได้ประกาศนโยบายเพื่อเป็นหลักในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ดังต่อไปนี้
ข้อ 2. วัตถุประสงค์
นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนี้ จัดทำขึ้นเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งได้ทำธุรกรรม ใช้บริการ มีส่วนได้เสีย หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัท โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
2.1 เพื่อกำหนดบทบาทหน้าที่ของหน่วยงาน ผู้บริหาร พนักงาน ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล
2.2 เพื่อกำหนดขั้นตอนหรือมาตรการรักษาความปลอดภัยในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
2.3 เพื่อกำหนดแนวทางในการปฏิบัติงานของพนักงานซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล
2.4 เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลต่อบุคคล ลูกค้า คู่ค้า ผู้ใช้บริการ ตลอดจนบุคคลอื่น ๆ ซึ่งมีส่วนได้เสียหรือเกี่ยวของกับข้อมูลส่วนบุคคล
2.5 เพื่อยืนยันตัวตนหรือตรวจสอบบุคคล
2.6 เพื่อตรวจสอบและป้องกันการกระทำที่ละเมิดกฎหมาย
2.7 เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) เพื่อประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ซึ่งอยู่ภายใต้วัตถุประสงค์ที่ชอบด้วยกฎหมาย
2.8 เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการด้านทรัพยากรบุคคลของบริษัทฯ รวมทั้งบริษัทในเครือ
2.9 เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการภายในองค์กร
2.10 เพื่อให้ข้อมูลแก่หน่วยงานราชการตามที่กฎหมายกำหนดหรือตามการร้องขอโดยหน่วยงานของรัฐ
2.11 เพื่อวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งสิทธิทางกฎหมายและการดำเนินคดี
2.12 เพื่อวัตถุประสงค์ในการทำธุรกรรมของบริษัทฯ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ
2.13 เพื่อปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ
ข้อ 3. ขอบเขตการใช้
3.1 ให้นโยบายฯ ฉบับนี้ มีผลใช้บังคับกับคณะกรรมการ กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับของบริษัทเป็นไท ลีเกิ้ล จำกัด รวมถึงคู่ค้า ผู้ให้บริการ และผู้มีส่วนได้เสียกับบริษัท
3.2 ให้นโยบายฯ ฉบับนี้มีผลใช้บังคับกับทุกกิจกรรมการดำเนินงานของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล
ข้อ 4. บทนิยาม
“บริษัท” |
หมายถึง บริษัท เป็นไท ลีเกิ้ล จำกัด |
“ข้อมูลส่วนบุคคล” |
หมายถึง ข้อมูลใด ๆ ที่เกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวตนของบุคคลนั้นได้ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ทั้งนี้ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ที่ถึงแก่กรรม บุคคลในที่นี้จึงหมายถึง บุคคลธรรมดาที่ยังมีชีวิตอยู่ และไม่รวมถึงนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย |
“ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Data)” |
หมายถึง ข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นเรื่องส่วนตัวโดยแท้ของบุคคลแต่มีความละเอียดอ่อนและสุ่มเสี่ยงต่อการถูกใช้ในการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม จึงต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ เช่น เชื้อชาติ, ศาสนา, พฤติกรรมทางเพศ, ความเห็นทางการเมือง, ประวัติอาชญากรรม, ข้อมูลสหภาพแรงงาน, ข้อมูลสุขภาพ, ความพิการ, ข้อมูลพันธุกรรม, ข้อมูลชีวภาพ หรืออื่น ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด |
“เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject)” |
หมายถึง บุคคลที่ข้อมูลส่วนบุคคลนั้นบ่งชี้ไปถึง ไม่ใช่กรณีที่บุคคลมีความเป็นเจ้าของข้อมูลในลักษณะทรัพยสิทธิหรือเป็นคนสร้างข้อมูลนั้นขึ้นมา |
“ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor)” |
หมายถึง บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ในที่นี้หมายถึง คู่ค้า บุคคล หรือบริษัทภายนอกซึ่งบริษัทได้ว่าจ้าง |
“บุคคล” |
หมายถึง บุคคลธรรมดา |
“เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Officer : DPO)” |
หมายถึง บุคคลซึ่งบริษัทแต่งตั้งให้ทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 |
“ผู้ประสานงานข้อมูลส่วนบุคคล(Data Protection Coordinator : DPC)” |
หมายถึง บุคคลซึ่งถูกกำหนดหรือได้รับมอบหมาย ให้มีหน้าที่ในการติดต่อประสานงานกับบุคคลหรือนิติบุคคลหรือหน้าที่อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามนโยบายฯ ฉบับนี้ |
ข้อ 5. การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
บริษัท จะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ข้อมูลเฉพาะบุคคล ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับชีวิตส่วนตัว หรือความสนใจส่วนบุคคล ข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว โดยมีแหล่งที่มา และหลักการในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ดังต่อไปนี้
5.1 แหล่งที่มาของข้อมูลส่วนบุคคล
บริษัทอาจได้รับข้อมูลส่วนบุคคลจากช่องทาง ดังนี้
5.1.1 เก็บรวบรวมโดยตรงจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เช่น การเก็บข้อมูลส่วนบุคคลจากการกรอกข้อมูลส่วนบุคคลผ่าน การลงนามในสัญญาหรือเอกสาร การสมัครงาน การตอบแบบสอบถาม ทั้งรูปแบบกระดาษและรูปแบบออนไลน์ หรือเมื่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลติดต่อสื่อสารกับบริษัทฯ ผ่านช่องทางที่กำหนด
5.1.2 เก็บรวบรวมจากการที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเข้าใช้งานเว็บไซต์ ซอฟต์แวร์ หรือแอปพลิเคชันของบริษัท เช่น การติดตามพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ หรือบริการของบริษัทด้วยการใช้คุกกี้ (Cookies) หรือจากซอฟต์แวร์บนอุปกรณ์ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น
5.1.3 เก็บรวบรวมจากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่จากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลโดยตรง ซึ่งบริษัทสามารถเก็บรวบรวมจากแหล่งข้อมูลดังกล่าวโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลแล้วในการเปิดเผยข้อมูลแก่บริษัทฯ เช่น การสืบค้นข้อมูลส่วนบุคคลผ่านระบบเว็บไซต์ การสอบถามจากบุคคลที่สาม หรือการเปิดเผยโดยบริษัทในเครือหรือบริษัทในกลุ่ม พันธมิตรทางธุรกิจ หรือบุคคลที่สามเพื่อวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในนโยบายฯ ฉบับนี้ โดยบริษัท จะแจ้งให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบโดยไม่ชักช้า นับแต่วันที่บริษัทเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลจากแหล่งดังกล่าว รวมถึงจะดำเนินการขอความยินยอมในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เว้นแต่กรณีที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องขอความยินยอมหรือแจ้งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลตามที่กฎหมายกำหนด
5.2การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล
5.2.1 การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลให้กระทำได้ภายใต้วัตถุประสงค์และเท่าที่จำเป็นตามกรอบวัตถุประสงค์หรือเพื่อประโยชน์ที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวม พร้อมทั้งแจ้งให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบก่อนหรือในขณะที่เก็บรวบรวม ถึงรายละเอียดดังต่อไปนี้
1) วัตถุประสงค์ของการเก็บรวบรวม
2) ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมไว้
3) ประเภทของบุคคลหรือหน่วยงานซึ่งอาจมีการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
4) ข้อมูลหรือช่องทางการติดต่อกับบริษัท
5) สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
6) แจ้งผลกระทบจากการไม่ให้ข้อมูลส่วนบุคคล ในกรณีที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไม่ให้ข้อมูลส่วนบุคคลตามที่กฎหมายกำหนด หรือเพื่อเข้าทำหรือปฏิบัติตามสัญญา
5.2.2 บริษัทจะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลเท่าที่จำเป็นตามวัตถุประสงค์อันชอบด้วยกฎหมายที่ได้แจ้งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไว้ก่อนหรือในขณะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล โดยบริษัทจะขอความยินยอมโดยชัดแจ้งจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลก่อนหรือในขณะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล เว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้บริษัทสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยไม่ต้องขอความยินยอม ดังนี้
(ก) เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับการจัดทำเอกสารประวัติศาสตร์หรือจดหมายเหตุเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือที่เกี่ยวกับการศึกษาวิจัยหรือสถิติ ซึ่งได้จัดให้มีมาตรการปกป้องที่เหมาะสมเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
(ข) เพื่อป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของบุคคล
(ค) เป็นการจำเป็นเพื่อปฏิบัติตามสัญญาซึ่งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นคู่สัญญาหรือเพื่อใช้ในการดำเนินการตามคำขอของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเข้าทำสัญญานั้น
(ง) เป็นการจำเป็นเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ในการดำเนินภารกิจเพื่อประโยชน์สาธารณะของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือปฏิบัติหน้าที่ในการใช้อำนาจรัฐที่ได้มอบให้แก่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
(จ) เป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือของบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นที่ไม่ใช้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล เว้นแต่ประโยชน์ดังกล่าวมีความสำคัญน้อยกว่าสิทธิขั้นพื้นฐานในข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
(ซ) เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
5.2.3 ในกรณีเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลต้องให้ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายหรือสัญญาหรือมีความจำเป็นต้องให้ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อเข้าทำสัญญา หรือต้องให้ข้อมูลด้วยประการอื่นใด หากเจ้าของข้อมูลไม่ให้ข้อมูลดังกล่าวนั้น อาจส่งผลให้ธุรกรรมหรือกิจกรรมอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลถูกระงับ หรือหยุดลงชั่วคราว จนกว่าบริษัทฯจะได้รับข้อมูลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ เนื่องจากบริษัท ไม่สามารถประมวลผลข้อมูลเหล่านั้นได้ หรือกฎหมายกำหนดห้ามมิให้มีการดำเนินธุรกรรมหรือกิจกรรมนั้นอีกต่อไป
5.3 การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของผู้หย่อนความสามารถ
การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นผู้เยาว์ เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ใด ๆ ซึ่งผู้เยาว์ไม่อาจดำเนินการได้เองโดยลำพังตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองของผู้เยาว์เท่านั้น
การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งเจ้าของข้อมูลเป็นบุคคลไร้ความสามารถและเสมือนไร้ความสามารถต้องได้รับความยินยอมจากผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์เท่านั้น
5.4 การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Data)
บริษัทจะไม่เก็บข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว เว้นแต่มีความจำเป็นต้องเก็บรวบรวม โดยต้องได้รับความยินยอมโดยชัดแจ้งจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ยกเว้นในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้สามารถเก็บรวบรวมได้โดยไม่ต้องขอความยินยอม
5.5 การเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล
บริษัทจะทำการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลดังนี้
1. จัดเก็บข้อมูลในรูปแบบเอกสารและ/หรือข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
2. จัดเก็บข้อมูลในสถานที่ที่มีการจำกัดสิทธิการเข้าถึงเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) และ/หรือเก็บไว้บนฐานข้อมูลออนไลน์ (CloudStorage) ของผู้ให้บริการของกลุ่มบริษัท
ข้อ 6. การใช้หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
การใช้หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้แจ้งต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลก่อนหรือในขณะทำการเก็บรวบรวม หรือเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์ที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับวัตถุประสงค์ของการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล และต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เว้นแต่กรณีที่กฎหมายกำหนดให้ไม่ต้องขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หรือเป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย
บุคคลหรือนิติบุคคลอื่นซึ่งได้รับข้อมูลส่วนบุคคลจากการที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลยินยอมให้เปิดเผยหรือเป็นผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลต้องใช้ข้อมูลส่วนบุคคลตามวัตถุประสงค์ซึ่งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ตกลงยินยอมไว้ให้กับบริษัทและตามที่บุคคลหรือนิติบุคคลนั้นได้แจ้งไว้กับบริษัทเท่านั้น
ข้อ 7. คุณภาพของข้อมูลส่วนบุคคล
ข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้เก็บรวบรวมไว้นั้น ต้องถูกต้องเป็นปัจจุบัน สมบูรณ์ ไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด และต้องดำเนินการจัดให้มีช่องทางเพื่อให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลสามารถร้องขอหรือแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลของตัวเองได้
ข้อ 8. บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ
บริษัทกำหนดให้พนักงานหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลต้องให้ความสำคัญและรับผิดชอบในการเก็บรวบรวมใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามนโยบายและแนวปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัทอย่างเคร่งครัด โดยกำหนดให้บุคคลหรือหน่วยงานดังต่อไปนี้ ทำหน้าที่กำกับและตรวจสอบให้การดำเนินงานของบริษัทนั้นถูกต้องและเป็นไปตามนโยบายและกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
8.1 ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
8.1.1 จัดให้มีมาตรการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลที่เหมาะสม และทบทวนมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้มาตรการดังกล่าวมีประสิทธิภาพทันต่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง
8.1.2 กำหนดขอบเขตการจัดการกับข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้เปิดเผยต่อบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ๆ
8.1.3 จัดการให้มีระบบตรวจสอบการจัดการกับข้อมูลส่วนบุคคลให้เป็นไปตามที่ กฎหมายกำหนด
8.1.4 บันทึกรายการเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลตามที่กฎหมายกำหนด
8.1.5 จัดทำข้อตกลงกับผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล นิติบุคคล หรือบุคคลภายนอกอื่นใด หากมีการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลให้แก่ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้ว่าจ้างนิติบุคคลหรือบุคคลภายนอกอื่นใดโดยผู้ประมวลผลข้อมูลนิติบุคคลหรือบุคคลภายนอก ดังกล่าวต้องมีมาตรการรักษาความปลอดภัย การเก็บการใช้การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลต้องเป็นไปตามนโยบายฉบับนี้ และตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
8.2 ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
8.2.1 ดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามคำสั่งที่ได้รับจากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
8.2.2 จัดให้มีมาตรการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลที่เหมาะสม
8.2.3 จัดทำและเก็บรักษาบันทึกรายการของกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลไว้
8.3 เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Officer)
8.3.1 ให้คำแนะนำในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลแก่ผู้บริหารพนักงานและผู้ค้าของบริษัท
8.3.2 ตรวจตราการดำเนินงานของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลและผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
8.3.3 ประสานงานและให้ความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท และคู่ค้าของบริษัท
8.4 คณะทำงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
8.4.1 จัดทำและทบทวนนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงแนวปฏิบัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัทให้ครบถ้วนและถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด
8.4.2 ให้คำปรึกษาด้านกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
8.4.3 กำกับดูแลหน่วยงานต่าง ๆ ของบริษัท กำกับดูแลหน่วยงานต่าง ๆ ของบริษัทและคู่ค้าของบริษัทให้ดำเนินงานตามนโยบายและแนวปฏิบัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท
8.4.4 รายงานการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่าง ๆ ของบริษัท และคู่ค้าของบริษัทต่อประธานคณะทำงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ข้อ 9. การรักษาความปลอดภัยสำหรับข้อมูลส่วนบุคคล
เพื่อประโยชน์ในการรักษาความลับและรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล บริษัทได้มีมาตรการดังนี้
9.1 กำหนดสิทธิในการเข้าถึงการใช้ การเปิดเผย การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงการแสดงหรือยืนยันตัวบุคคลผู้เข้าถึงหรือใช้ข้อมูลส่วนบุคคลจัดให้มีมาตรการรักษาความปลอดภัย รวมถึงกระบวนการทบทวนและการประเมิน ประสิทธิภาพของมาตรการรักษาความปลอดภัย ทั้งนี้เป็นไปตามแนวนโยบายสารสนเทศของบริษัทอย่างเคร่งครัด
9.2 ในการส่งการโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังต่างประเทศ รวมถึงการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปเก็บบนฐานระบบข้อมูลในระบบอื่นใดซึ่งผู้ให้บริการรับโอนข้อมูลหรือบริการเก็บรักษาข้อมูลอยู่ต่างประเทศ ประเทศปลายทางที่เก็บรักษาข้อมูลต้องมีมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เทียบเท่าหรือดีกว่ามาตรการตามนโยบายนี้
9.3 ในกรณีที่มีการฝ่าฝืนมาตรการการรักษาความปลอดภัยของบริษัทจนเป็นเหตุให้มีการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล บริษัทจะดำเนินการแจ้งให้สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลส่วนบุคคลทราบภายใน 72 ชั่วโมงนับแต่ทราบเหตุเท่าที่จะสามารถทำได้ เว้นแต่การละเมิดนั้นมีความเสี่ยงที่จะกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล บริษัทจะดำเนินการแจ้งเหตุการละเมิดพร้อมทั้งแนวทางการเยียวยาให้เจ้าของข้อมูลทราบโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้บริษัทจะไม่รับผิดชอบในกรณีความเสียหายใด ๆ อันเกิดจากการที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหรือบุคคลอื่น ซึ่งได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจงใจหรือประมาทเลินเล่อหรือเพิกถอนตามมาตรการความปลอดภัยจนเป็นเหตุให้ข้อมูลส่วนบุคคลถูกใช้หรือเปิดเผยต่อบุคคลที่สามบุคคลอื่นใด
ข้อ 10.การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
เมื่อบริษัทได้รับข้อมูลส่วนบุคคล บริษัทจะดำเนินการดังต่อไปนี้กับข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูล
10.1 ขั้นตอนเก็บรวบรวม
บริษัทจัดเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลทั้งในรูปแบบเอกสาร และ/หรือ ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เท่าที่จำเป็นแก่การให้บริการหรือบริการด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้วัตถุประสงค์ของบริษัทและในระยะเวลานานเท่าที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้งานข้อมูลส่วนบุคคลตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้เท่านั้น ซึ่งข้อมูลดังกล่าวถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกต้องสมบูรณ์และเป็นปัจจุบันที่สุดและท่านยินยอมมอบข้อมูลส่วนบุคคลให้แก่บริษัทโดยชอบด้วยกฎหมาย
บริษัทอาจรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเข้ากับข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับจากแหล่งอื่นเฉพาะในกรณีที่มีความจำเป็นและได้รับความยินยอมจากท่านเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงข้อมูลส่วนบุคคลให้เป็นปัจจุบันและเพื่อปรับปรุงคุณภาพและประสิทธิภาพของการให้บริการของบริษัทให้ดียิ่งขึ้น
10.2 ขั้นตอนนำข้อมูลไปใช้
บริษัทจะใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในกรณีที่พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อการทำงานการดำเนินธุรกิจของบริษัทเพื่อให้การดำเนินงานของบริษัทเป็นไปตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องหรือเพื่อปรับปรุงบริการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อพัฒนามาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศในการบริหารจัดการความเสี่ยงป้องกันกิจกรรมที่มีแนวโน้มในการละเมิดกฎหมายระเบียบการใช้งานที่เกี่ยวข้องหรือข้อตกลงเงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์ของบริษัทรวมถึงเพื่อการติดต่อทางโทรศัพท์ข้อความอีเมลหรือไปรษณีย์หรือผ่านช่องทางใดๆ เพื่อสอบหรือแจ้งให้ท่านทราบหรือตรวจสอบและยืนยันข้อมูลหรือสำรวจความคิดเห็นหรือแจ้งข้อมูลข่าวสารอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์และการให้บริการของบริษัทตามที่จำเป็น
10.3 การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
บริษัทจะเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลให้แก่บุคคลภายนอก เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานของบริษัท และตามวัตถุประสงค์ที่บริษัทได้ขอจากเจ้าของข้อมูลเท่านั้น โดยบริษัทจะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลต่อบุคคลภายนอกรายอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของข้อมูล เว้นแต่ เป็นการส่งข้อมูลส่วนบุคคลให้แก่หน่วยงาน หรือเจ้าพนักงาน หรือบุคคลอื่นๆ ที่มีสิทธิได้รับข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลโดยชอบด้วยกฎหมาย เช่น ศาล เจ้าพนักงานตำรวจ หรือบุคคลอื่นซึ่งมีสิทธิในการขอข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลจากบริษัทได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
ข้อ 11.ระยะเวลาการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล
ข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งเจ้าของข้อมูลยินยอม (Consent) หรือที่บริษัทได้มีการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลโดยอาศัยฐานการประมวลผลตามกฎหมาย ดังนี้ ฐานปฏิบัติตามสัญญา (Contract) ฐานการปฏิบัติตามกฎหมาย (Legal Obligation) ฐานป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต (Vital Interests) ฐานประโยชน์สาธารณะ (Public Interest) ฐานประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interests) และฐานจัดทำจดหมายเหตุ/วิจัย/สถิติ (Archives/Research/Statistic) ให้นำมาประมวลผล หรือรวบรวม จัดเก็บ ใช้และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลได้โดยอาศัยวัตถุประสงค์ที่บริษัทได้ขอความยินยอมไว้หรือตามฐานการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมาย จะถูกเก็บไว้ที่ระบบจัดเก็บของบริษัท ดังนี้
เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล |
ระยะเวลาจัดเก็บ |
กำหนดระยะเวลาทำลาย |
วิธีการทำลาย |
กรรมการและผู้ถือหุ้น |
ตลอดอายุที่ดำรงตำแหน่งกรรมการหรือผู้ถือหุ้นและจัดเก็บต่ออีก 10 ปี หลังพ้นสภาพ |
ลบ/ทำลาย ภายใน 30 วัน นับแต่ครบระยะเวลาการจัดเก็บ |
ทำลายโดยห้ามไม่ให้เห็นข้อมูลส่วนบุคคลหรือมีสัญญารักษาความลับระหว่างคู่สัญญา
|
ลูกค้าที่ทำสัญญา |
จัดเก็บตลอดอายุสัญญาและจัดเก็บต่ออีก 10 ปี หลังสิ้นสุดสัญญา |
||
ลูกค้าที่เปิดเฉพาะใบสั่งซื้อ (PO) |
ตลอดระยะเวลาการทำธุรกรรมร่วมกัน และจัดเก็บต่ออีก 10 ปี หลักงานพ้นสภาพการเป็นคู่ค้า |
||
ผู้ขายที่ทำสัญญา |
ตลอดอายุสัญญาและจัดเก็บต่ออีก 10 ปี หลังสิ้นสุดสัญญา |
||
ผู้ขายที่เปิดเฉพาะใบสั่งซื้อ (PO) |
ตลอดระยะเวลาการทำธุรกรรมร่วมกันและจัดเก็บต่ออีก 10 ปี หลังจากการพ้นสภาพตามระเบียบจัดซื้อ |
||
พนักงานปัจจุบันและพนักงานงานพ้นสภาพ |
ตลอดระยะเวลาการเป็นพนักงานและจัดเก็บต่ออีก 10 ปี นับแต่วันสิ้นสุดการจ้างลูกจ้างแต่ละราย |
||
ผู้สมัครงาน |
จัดเก็บต่ออีก 1 ปี หลังจากวันที่เรียกสัมภาษณ์ |
บริษัทขอรับรองว่าเมื่อพ้นระยะเวลาจัดเก็บและ/หรือมีการขอถอนความยินยอมที่อนุญาตให้บริษัทมีสิทธิประมวลผล รวบรวม จัดเก็บ ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลแล้ว บริษัทจะเป็นผู้ที่ไม่สามารถอ้างฐานความยินยอม หรือฐานใดๆ ในการนำข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลมาประมวลผลหรือใช้ตามวัตถุประสงค์ที่เจ้าของข้อมูลได้ให้ความยินยอมไว้ได้อีก และบริษัทจะดำเนินการลบหรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าว โดยบริษัทจะดำเนินการลบหรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งพ้นระยะเวลาจัดเก็บ และ/หรือมีการถอนความยินยอมตามข้อนี้ภายใน 30 วันนับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลา หรือนับแต่วันที่การถอนความยินยอมนั้นมีผลสมบูรณ์
อนึ่ง บริษัทขอเรียนให้ทราบว่าการลบหรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งได้กล่าวไปในวรรคสอง จะไม่นำไปใช้กับการเก็บรักษาข้อมูลดังต่อไปนี้
ข้อมูลส่วนบุคคล
11.1 ข้อมูลซึ่งเก็บรักษาไว้เพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และ/หรือ
11.2 ข้อมูลซึ่งเก็บรักษาไว้เพื่อวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับการจัดทำเอกสารประวัติศาสตร์ หรือเพื่อการวิจัยหรือจดหมายเหตุเพื่อประโยชน์สาธารณะ และ/หรือ
11.3 ข้อมูลซึ่งเก็บรวบรวมไว้เพื่อป้องกัน ระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพของบุคคล
11.4 ข้อมูลซึ่งเก็บรวบรวมไว้เนื่องจากความจำเป็นในการปฏิบัติตามสัญญาซึ่งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นคู่สัญญา หรือเพื่อใช้ในการดำเนินการตามคำขอของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเข้าทำสัญญา
11.5 ข้อมูลซึ่งเก็บรวบรวมไว้เพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Data)
11.6 ข้อมูลซึ่งเก็บไว้โดยความจำเป็นในการปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในเรื่องประโยชน์สาธารณะที่สำคัญ โดยบริษัทได้จัดให้มีมาตรการที่เหมาะสมเพื่อคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานและประโยชน์ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
ข้อ 12.สิทธิของเจ้าของข้อมูล
เจ้าของข้อมูลมีสิทธิที่จะดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(1) สิทธิในการเพิกถอนความยินยอมที่ได้ให้ไว้กับบริษัทเมื่อใดก็ได้ โดยการเพิกถอนความยินยอมดังกล่าวไม่ทำให้เจ้าของข้อมูลเสียผลประโยชน์
(2) สิทธิในการขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน โดยเจ้าของข้อมูลมีสิทธิในการขอเข้าถึงข้อมูลของตนเองและขอให้บริษัททำสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลที่บริษัทเก็บไว้ให้แก่เจ้าของข้อมูลได้ ความข้อนี้หมายรวมถึงการขอให้บริษัทเปิดเผยการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทได้มาจากแหล่งที่มาอื่นซึ่งไม่ใช่ความยินยอมของเจ้าของข้อมูลด้วย
(3) สิทธิในการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง
(4) สิทธิในการลบข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลทั้งหมดหรือบางส่วนด้วยเหตุผลบางประการ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งบริษัทมีสิทธิเก็บไว้โดยชอบด้วยกฎหมาย
(5) สิทธิในการระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลทั้งหมดหรือบางส่วนด้วยเหตุผลบางประการ
(6) สิทธิในการให้โอนย้ายข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลซึ่งได้ยินยอมและให้ไว้กับบริษัท ให้แก่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลรายอื่น หรือให้แก่เจ้าของข้อมูลเองด้วยเหตุผลบางประการ
(7) สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลด้วยเหตุผลบางประการ
(8) สิทธิในการร้องเรียน (Right to Lodge a Complaint) ท่านมีสิทธิร้องเรียนต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องในกรณีที่บริษัทฯ ลูกจ้างหรือผู้รับจ้างของบริษัทฯ ทำการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
อนึ่ง บริษัทอาจใช้สิทธิปฏิเสธคำขอข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อซึ่งระบุไว้ในข้อ (1) ถึง (8) ได้ หากเป็นการปฏิเสธภายใต้เหตุผลซึ่งได้ระบุหรือถูกรับรองไว้ไว้ภายใต้บทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
เจ้าของข้อมูลที่ต้องการดำเนินการตามสิทธิในข้อนี้ สามารถติดต่อขอดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอื่นใดเพิ่มเติมเพื่อกระทำตามสิทธิ โดยบริษัทจะเป็นผู้พิจารณาตามคำร้องขอของเจ้าของข้อมูล และแจ้งผลการดำเนินการให้เจ้าของข้อมูลทราบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่บริษัทได้รับคำร้องขอ
ข้อ 13.การเปลี่ยนแปลงนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
บริษัทจะทำการพิจารณา ทบทวน และรักษานโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัทให้ชอบและสอดคล้องด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 และแนวปฏิบัติตามกฎหมายหรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ หากบริษัทมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ใด ๆ บริษัทจะแจ้งนโยบายฉบับที่เป็นปัจจุบันไว้บนเว็ปไซต์ของบริษัทฯ ภายในวัน 30 วัน นับแต่วันที่มีการตกลงเปลี่ยนแปลงนโยบายหรือนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์
ข้อ 14.การฝึกอบรม
บริษัทจัดให้มีการฝึกอบรมและประเมินผลเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้กับผู้บริหารและพนักงานทุกระดับ ในการนี้ผู้ประสานงานข้อมูลส่วนบุคคลต้องเข้าร่วมฝึกอบรมและกำหนดให้พนักงานในสังกัดของตนซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลต้องเข้าร่วมฝึกอบรมอย่างเคร่งครัด
ข้อ 15.การแก้ไขเปลี่ยนแปลงนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
บริษัทจะทำการทบทวนนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และหากมีการแก้ไข เปลี่ยนแปลง บริษัทจะประกาศให้พนักงานและบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องทราบภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง
ข้อ 16.บทกำหนดโทษ
ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล หรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินงานเรื่องใดเรื่องหนึ่งตามหน้าที่ของตน หากละเลยหรือละเว้นไม่สั่งการ หรือไม่ดำเนินการหรือสั่งการหรือดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งในหน้าที่ของตนอันเป็นการฝ่าฝืนนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล และ/หรือตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 กำหนด จนเป็นเหตุให้เกิดความผิดตามกฎหมาย และ/หรือความเสียหายขึ้นผู้นั้นต้องรับโทษทางวินัย ตามระเบียบของบริษัทและต้องรับโทษทางกฎหมายตามความผิดที่เกิดขึ้นทั้งนี้หากความผิดดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทและ/หรือบุคคลอื่นใดบริษัทอาจพิจารณาดำเนินคดีตามกฎหมายเพิ่มเติมต่อไป
ข้อ 17.ช่องทางการติดต่อ
ช่องทางการติดต่อบริษัทหรือผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller)
ชื่อ: บริษัท เป็นไท ลีเกิ้ล จำกัด
ที่อยู่: 1/134 ซอยวัชรพล2/7 แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220
โทรศัพท์: 02-117-3025(6)
อีเมล: Info@Pentai.co.th
เว็บไซต์: https://www.pentai.co.th/
ช่องทางการติดต่อหน่วยงานกำกับดูแล
ชื่อ : สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อ : 02-142-1033 หรือ pdpc@mdes.go.th
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2565
นายอัชนันต์ ขวัญดี
ประธานกรรมการบริษัท